เดิมทีในภาษาไทยไม่มีคำจำกัดความที่แน่ชัดของคำว่า “พืชที่มีสรรพคุณทางยา” ซึ่งในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Medicinal Grass และในภาษาจีนใช้คำว่า 藥草 (Yàocǎo)

คำว่า “หญ้ายา” จึงน่าจะเป็นคำที่เหมาะสมและตรงตัวที่สุด ที่จะใช้เรียกพืชที่มีสรรพคุณทางยาที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคเทียบเท่ากับยาสมัยใหม่

หญ้ายา คือ พืชท้องถิ่นที่มีหลักฐานอย่างชัดเจนว่าได้รับการบันทึกไว้อย่างมีลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่ครั้งอดีตว่ามีสรรพคุณทางยา ใช้รักษาโรคต่าง ๆได้จริง และสามารถนำมาสกัดหาเฉพาะส่วนที่เป็นสารออกฤทธิ์ทางยาสำคัญ ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อด้วยวิธีการทางเภสัชศาสตร์ และสามารถตรวจสอบวัดผลได้ด้วยกระบวนทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ว่าสามารถใช้เป็นยาเพื่อรักษาโรคต่าง ๆได้จริง

ในขณะที่สมุนไพรเป็นการใช้พืชพันธุ์ต่าง ๆ ในการบำบัดอาการ โดยวิธีแบบพื้นบ้านเป็นการใช้งานแบบจดจำกันมา บอกเล่ากันไป ไม่ค่อยมีความชัดเจน ซึ่งส่วนมากการใช้สมุนไพรก็มักจะมีส่วนประกอบทั้งจากพืช แร่ธาตุ และชิ้นส่วนจากสัตว์

การนำกระบวนการวิทยาศาสตร์มาใช้ในการผลิตยาจากพืชจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับยา ทั้งยังช่วยให้ยาจากพืชเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์

หนึ่งในขั้นตอนสำคัญคือการวิเคราะห์สารสกัดจากพืชด้วยเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics) หรือกลไกของยาเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ การดูดซึมของยา การกระจายตัวของยา การเปลี่ยนแปลงยา และการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ซึ่งช่วยให้ทราบข้อเด่นข้อด้อยของยาและนำสู่การพัฒนายาจากพืช เช่น สารสำคัญจากพืชบางชนิดมีประโยชน์สูง แต่ร่างกายดูดซึมได้ยาก การเพิ่มสารอื่นเพื่อเสริมการดูดซึมช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น หรือสารบางชนิดขับออกจากร่างกายเร็วเกินไป การเพิ่มสารบางประเภทเข้าไปจะช่วยให้สารคงอยู่ในร่างกายและออกฤทธิ์ได้นานขึ้น เป็นต้น

การวิเคราะห์ยาจากพืชด้วยเภสัชจลนศาสตร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การพัฒนายาจากพืชยังมีการใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาปรับใช้ทุกขั้นตอน เช่น การวิเคราะห์สภาพดิน เทคนิคการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด การวิจัยสารที่พบในพืชนั้น ๆ ไปจนถึงขั้นตอนการสกัดเพื่อให้ได้สารที่ดีที่สุดออกมา และช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยได้อย่างเห็นผลชัดเจน ซึ่งล้วนเพิ่มมูลค่าให้กับพืชนั้น ๆ ในฐานะพืชยาที่ถูกพัฒนาจนกลายเป็นยาสมัยใหม่

การนำกระบวนการวิทยาศาสตร์มาใช้ในการผลิตยาจากพืชจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับยา ทั้งยังช่วยให้ยาจากพืชเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์

หนึ่งในขั้นตอนสำคัญคือการวิเคราะห์สารสกัดจากพืชด้วยเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics) หรือกลไกของยาเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ การดูดซึมของยา การกระจายตัวของยา การเปลี่ยนแปลงยา และการขับยาออกจากร่างกาย ซึ่งช่วยให้ทราบข้อเด่นข้อด้อยของยาและนำสู่การพัฒนายาจากพืช เช่น สารสำคัญจากพืชบางชนิดมีประโยชน์สูง แต่ร่างกายดูดซึมได้ยาก การเพิ่มสารอื่นเพื่อเสริมการดูดซึมช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น หรือสารบางชนิดขับออกจากร่างกายเร็วเกินไป การเพิ่มสารบางประเภทเข้าไปจะช่วยให้สารคงอยู่ในร่างกายและออกฤทธิ์ได้นานขึ้น เป็นต้น

การวิเคราะห์ยาจากพืชด้วยเภสัชจลนศาสตร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การพัฒนายาจากพืชยังมีการใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาปรับใช้ทุกขั้นตอน เช่น การวิเคราะห์สภาพดิน เทคนิคการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด การวิจัยสารที่พบในพืชนั้น ๆ ไปจนถึงขั้นตอนการสกัดเพื่อให้ได้สารที่ดีที่สุดออกมา และช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยได้อย่างเห็นผลชัดเจน ซึ่งล้วนเพิ่มมูลค่าให้กับพืชนั้น ๆ ในฐานะพืชยาที่ถูกพัฒนาจนกลายเป็นยาสมัยใหม่